Category Archives: จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครปฐม | ||||
---|---|---|---|---|
|
||||
ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน |
||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||
อักษรไทย | นครปฐม | |||
อักษรโรมัน | Nakhon Pathom | |||
ผู้ว่าราชการ | ชาญนะ เอี่ยมแสง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560) |
|||
ข้อมูลสถิติ | ||||
พื้นที่ | 2,168.327 ตร.กม.[1] (อันดับที่ 66) |
|||
ประชากร | 917,053 คน[2] (พ.ศ. 2561) (อันดับที่ 25) |
|||
ความหนาแน่น | 422.93 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 8) |
|||
ISO 3166-2 | TH-73 | |||
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | ||||
ต้นไม้ | จัน | |||
ดอกไม้ | แก้ว | |||
สัตว์น้ำ | กุ้งก้ามกราม | |||
ศาลากลางจังหวัด | ||||
ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 ถนนบางเตย-ดอนยายหอม ตำบลถนนขาด อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 | |||
โทรศัพท์ | 0 3434 0003-4 | |||
โทรสาร | 0 3434 0003-4 | |||
เว็บไซต์ | จังหวัดนครปฐม | |||
แผนที่ | ||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก
เนื้อหา
ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]
นครปฐม เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น[3]
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมือง นครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม”
ภูมิศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
จังหวัดนครปฐมตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยหน่วยงานบางแห่ง เช่น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้จังหวัดนครปฐมอยู่ภาคตะวันตก จังหวัดนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 พิลิปดา เส้นลองจิจูดที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 พิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร
จังหวัดที่ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้ไขต้นฉบับ]
- ตัวอักษรย่อ: นฐ
- ตราประจำจังหวัด: รูปพระปฐมเจดีย์ ประดับด้วยเครื่องหมายเลข 4 ไทยในพระมหาพิชัยมงกุฎ
- คำขวัญประจำจังหวัด: ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด: จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei หรือจันทน์หอม
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: จัน (Diospyros decandra)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: แก้ว (Murraya paniculata)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด: กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii)
การเมืองการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
หน่วยการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้ไขต้นฉบับ]
การปกครองส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครปฐม แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ ประกอบด้วย 106 ตำบล และ 930 หมู่บ้าน โดยอำเภอต่าง ๆ มีดังนี้
ลำดับ | อำเภอ | ประชากร (พ.ศ. 2560) |
---|---|---|
1 | อำเภอเมืองนครปฐม | 280,695 |
2 | อำเภอกำแพงแสน | 129,548 |
3 | อำเภอนครชัยศรี | 111,475 |
4 | อำเภอดอนตูม | 48,788 |
5 | อำเภอบางเลน | 93,862 |
6 | อำเภอสามพราน | 211,223 |
7 | อำเภอพุทธมณฑล | 41,462 |
รวม | 917,053 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้ไขต้นฉบับ]
พื้นที่จังหวัดนครปฐมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 117 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 92 แห่ง[4]
ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.)[# 1] |
อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร สิ้นปี 2561 (คน)[5] |
|||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | |||||||||||||||
เทศบาลนคร | |||||||||||||||||
1 | เทศบาลนครนครปฐม | 19.85 | 2542 | เมืองนครปฐม | 1 | 8 | 9 | 75,955 | |||||||||
เทศบาลเมือง | |||||||||||||||||
2 (1) | เทศบาลเมืองสามพราน | 8.15 | 2551[6] | สามพราน | – | 4 | 4 | 17,622 | |||||||||
3 (2) | เทศบาลเมืองไร่ขิง | 25.40 | 2551[7] | สามพราน | 1 | – | 1 | 32,094 | |||||||||
4 (3) | เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม | 10.90 | 2551[8] | สามพราน | 1 | – | 1 | 27,080 | |||||||||
5 (4) | เทศบาลเมืองนครปฐม | 22.20 | 2556[9] | เมืองนครปฐม | – | 1 | 1 | 13,766 | |||||||||
6 (5) | เทศบาลเมืองสามควายเผือก | 14.72 | 2562[10] | เมืองนครปฐม | 1 | – | 1 | 10,837 | |||||||||
เทศบาลตำบล | |||||||||||||||||
7 (1) | เทศบาลตำบลดอนยายหอม | 4.64 | 2542 | เมืองนครปฐม | – | 1 | 1 | 6,526 | |||||||||
8 (2) | เทศบาลตำบลธรรมศาลา | 3.64 | 2542 | เมืองนครปฐม | – | 1 | 1 | 7,153 | |||||||||
9 (3) | เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ | 14.80 | 2542 | เมืองนครปฐม | – | 1 | 1 | 10,844 | |||||||||
10 (4) | เทศบาลตำบลกำแพงแสน | 2542 | กำแพงแสน | – | 2 | 2 | 7,041 | ||||||||||
11 (5) | เทศบาลตำบลนครชัยศรี | 4.54 | 2542 | นครชัยศรี | – | 5 | 5 | 8,261 | |||||||||
12 (6) | เทศบาลตำบลห้วยพลู | 2542 | นครชัยศรี | – | 1 | 1 | 2,196 | ||||||||||
13 (7) | เทศบาลตำบลสามง่าม | 2542 | ดอนตูม | 2 | – | 2 | 13,929 | ||||||||||
14 (8) | เทศบาลตำบลบางเลน | 16.14 | 2542 | บางเลน | – | 2 | 2 | 8,383 | |||||||||
15 (9) | เทศบาลตำบลบางหลวง | 2542 | บางเลน | – | 1 | 1 | 2,167 | ||||||||||
16 (10) | เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม | 6.08 | 2542 | บางเลน | – | 1 | 1 | 2,209 | |||||||||
17 (11) | เทศบาลตำบลลำพญา | 4.00 | 2542 | บางเลน | – | 1 | 1 | 1,961 | |||||||||
18 (12) | เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ | 12.00 | 2542 | สามพราน | 1 | 1 | 2 | 23,988 | |||||||||
19 (13) | เทศบาลตำบลศาลายา | 13.50 | 2542 | พุทธมณฑล | – | 1 | 1 | 11,071 | |||||||||
20 (14) | เทศบาลตำบลคลองโยง | 31.63 | 2550 | พุทธมณฑล | 1 | – | 1 | 10,306 | |||||||||
21 (15) | เทศบาลตำบลบางกระทึก | 12.85 | 2551 | สามพราน | 1 | – | 1 | 12,619 | |||||||||
22 (16) | เทศบาลตำบลมาบแค | 20.15 | 2555 | เมืองนครปฐม | 1 | – | 1 | 8,591 | |||||||||
23 (17) | เทศบาลตำบลบ่อพลับ | 4.90 | 2555 | เมืองนครปฐม | – | 1 | 1 | 9,331 | |||||||||
24 (18) | เทศบาลตำบลขุนแก้ว | 10.80 | 2556 | นครชัยศรี | 1 | – | 1 | 7,880 |
- ↑ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน