ถนนกรุงธนบุรี แผ่นใส ใสกระจก : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนกรุง […]
Category Archives: เขตธนบุรี
เขตธนบุรี
เขตธนบุรี is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
-
กรุงเทพมหานคร
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ กรุงเทพกรุงเทพมหานครบางกอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเรียงตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร, เสาชิงช้า, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, พระที่นั่งอนันตสมาคม, ทิวทัศน์กลางคืนที่ สวนลุมพินี และ วัดพระศรีรัตนศาสดารามคำขวัญ: - กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง
เมืองศูนย์กลางการปกครอง
วัดวังงามเรืองรอง
เมืองหลวงของประเทศไทย[1]
แผนที่ประเทศไทยเน้นกรุงเทพมหานครพิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′0″N 100°31′1.20″Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′0″N 100°31′1.20″E ประเทศ ไทย ภูมิภาค ภาคกลาง ก่อตั้ง 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ก่อตั้ง (นคร) 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ผู้ก่อตั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ศาลาว่าการ เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 การปกครอง • ประเภท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ • ผู้ว่าราชการ อัศวิน ขวัญเมือง • ปลัดกรุงเทพมหานคร ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ พื้นที่ • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1,568.737 ตร.กม. (605.693 ตร.ไมล์) • รวมปริมณฑล 7,761.6 ตร.กม. (2,996.8 ตร.ไมล์) ประชากร (พ.ศ. 2562) • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 10,820,921 (ประมาณจำนวนประชากรทั้งขึ้นทะเบียนราษฎร และไม่ขึ้นทะเบียนราษฎร) • รวมปริมณฑล 10,624,700 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล 1,400 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์) เขตเวลา Thailand (UTC+7) รหัสไปรษณีย์ 10### รหัสพื้นที่ 02 โทรศัพท์ (+66) 0 2246 0301-3 เว็บไซต์ bangkok.go.th ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น “เอกนครที่สุดในโลก” เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[2]
มหาวิทยาลัยลัฟเบอระ (Loughborough University) จัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับแอลฟาลบ[3] กรุงเทพมหานครยังเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก[4] มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆ วัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งจับจ่ายใช้สอยและค้าขายที่สำคัญซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมาย โดยในปี พ.ศ. 2555 องค์กรการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้จัดอันดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีคนเดินทางเข้าเป็นอันดับที่ 10 ของโลกและเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย โดยมีคนเดินทางมากกว่า 26.5 ล้านคน[5] นอกจากนี้จากการจัดอันดับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ด ประจำปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครมีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของนักท่องเที่ยวถึง 16.42 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เท่านั้น[6]
กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า “กรุงเทพมหานคร” นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่ปัจจุบันผู้บริหารกรุงเทพมหานครมาจากการแต่งตั้ง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 2 แห่งคือ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัยและเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชัน และการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด
และชื่อเต็มของกรุงเทพฯคือ
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลก ภพนพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์
ประวัติ[แก้]
พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า “บางกอก” มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[7] มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง[7]
ที่มาของคำว่า “บางกอก” นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า “บางเกาะ” หรือ “บางโคก” หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า “บางมะกอก” โดยคำว่า “บางมะกอก” มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก[7][8]
ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313[7] ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา[7]
พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น.[7] และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325[9]
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น จังหวัดพระนคร[10]
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น ทรงดำริให้ตัดถนนเจริญกรุง เป็นถนนเส้นแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404[11] และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น[12]
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[13] และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ[14]
ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 รัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรก[15]ภายหลังจากนั้นรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528[16]วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[17]วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551[18]วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552[19]วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553[20]และ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557[21]
ในปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้รับการประกาศจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital ประจำปี พ.ศ. 2556[22] กรุงเทพมหานครติดอันดับที่ 102 เมืองน่าอยู่ของโลก จัดอันดับโดย The Economist Intelligence Unit[23]
ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ได้ออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เนื่องจากวิกฤตปัญหามลพิษ โดยมีโรงเรียนจำนวนมากรวมถึงมหาวิทยาลัย[24]ที่สั่งปิดการเรียนการสอน ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นเด็ก[25]
ชื่อเมือง[แก้]
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ คำว่า “กรุงเทพมหานคร” แปลว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร” มาจากชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์[26] มีความหมายว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้”[27]
โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างต้น[27]
ชื่อทางการของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ “Krung Thep Maha Nakhon” สำหรับต่างชาติ ชื่อ “Bangkok” มาจากการทัพศัพท์คำว่าบางกอกเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ (De Lamar) ได้ก่อสร้างป้อมบางกอก ซึ่งเป็นป้อมดาวขนาดใหญ่ ปัจจุบันถูกแปรรูปเป็นโรงเรียนราชินี, มิวเซียมสยาม และบางส่วนของวัดโพธิ์ และปัจจุบันชาวต่างชาติยังคงใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเรียกชื่อเมือง
กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า “City of angels, great city of immortals, magnificent city of the nine gems, seat of the king, city of royal palaces, home of gods incarnate, erected by Visvakarman at Indra’s behest.”[26]
ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ “Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit”[26] ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค[28] (169 ตัวอักษร) ยาวกว่าชื่อภูเขา “ตาอูมาตาวากาตังกีฮังกาโกอาอูอาอูโอตามาทีอาโปกาอีเวนูอากีตานาตาฮู” (“Taumatawhakatangihangakoauauotamateaturipukakapikimaungahoronukupokaiwhenuakitanatahu”) (85 ตัวอักษร) ในนิวซีแลนด์ และชื่อทะเลสาบ “ชาร์ก็อกกาก็อกมานชาอ็อกกาก็อกเชาบูนากุนกามาอัก” (“Chargoggagoggmanchauggagoggchaubunagungamaugg”) (45 ตัวอักษร) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
สัญลักษณ์ประจำกรุงเทพมหานคร[แก้]
- คำขวัญของกรุงเทพมหานคร คือ “กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย” หลังกรุงเทพมหานคร สรุปยอดคะแนนโหวตคำขวัญกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[29]
- ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)
- ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือ ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
- สัตว์น้ำประจำกรุงเทพมหานคร คือ ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis)
ภูมิศาสตร์[แก้]
อาณาเขตติดต่อ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตทางบกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
- ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของจังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จุดที่อยู่ใต้สุดอยู่ที่ละติจูด 13 องศา 13 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา 27 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ซึ่งเป็นการแบ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502)
- ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม
ภูมิประเทศ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568.7 ตร.กม. เป็นจังหวัด (โดยอนุโลม) ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 68 ของไทย เป็นเมืองที่กว้างที่สุดของโลก[30] เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 73 ของโลก[31] และเป็นเมืองหลวงที่มีพื้นที่กว้างเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[32] ด้วยมีแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งทอดตัวยาว 372 กม. พาดผ่านพื้นที่ ทำให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนมากในกรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำพา มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1.50-2 ม. โดยมีความลาดเอียงจากทิศเหนือสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ และเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1.50 เมตร ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้งในช่วงฤดูมรสุม
ภูมิอากาศ[แก้]
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศร้อนแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของวลาดีมีร์ เคิปเปิน[33] คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส มีอย่างน้อย 1 เดือนที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดจะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 ลบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี หารด้วย 25[ต้องการอ้างอิง]
อากาศของกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม) และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนกุมภาพันธ์)[34] ทำให้มีฝนตกในช่วงบ่ายถึงค่ำอย่างสม่ำเสมอ และยังก่อให้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านในเดือนพฤษภาคมกับเดือนกันยายนซึ่งทำให้มีฝนตกหนักกว่าปกติ แต่ในช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านทางเหนือ[35] ทำให้ฝนตกน้อยลง เดือนพฤศจิกายน เมื่อซีกโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ หย่อมความกดอากาศสูงจากจีนจะแผ่ลงมา มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นมาทำให้อากาศเย็นและแห้ง ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆและฝนตกน้อย ครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนกำลังลง เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ กระแสลมในช่วงนี้จะพัดมาจากทางใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่าลมตะเภา[36]
ในวันที่ 27 หรือ 28 เมษายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะส่องตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครพอดี ทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่และมักคาดการณ์กันว่าเป็นวันที่อากาศร้อนที่สุดของปี[37] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 40.8 องศาเซลเซียส ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2526[38] ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้คือ 9.9 องศาเซลเซียส ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498[39]
[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงเทพมหานคร (2504-2533) เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 32.0
(89.6)32.7
(90.9)33.7
(92.7)34.9
(94.8)34.0
(93.2)33.1
(91.6)32.7
(90.9)32.5
(90.5)32.3
(90.1)32.0
(89.6)31.6
(88.9)31.3
(88.3)32.7
(90.9)อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 25.9
(78.6)27.4
(81.3)28.7
(83.7)29.7
(85.5)29.2
(84.6)28.7
(83.7)28.3
(82.9)28.1
(82.6)27.8
(82)27.6
(81.7)26.9
(80.4)25.6
(78.1)27.8
(82)อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.0
(69.8)23.3
(73.9)24.9
(76.8)26.1
(79)25.6
(78.1)25.4
(77.7)25.0
(77)24.9
(76.8)24.6
(76.3)24.3
(75.7)23.1
(73.6)20.8
(69.4)24.1
(75.4)ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 9.1
(0.358)29.9
(1.177)28.6
(1.126)64.7
(2.547)220.4
(8.677)149.3
(5.878)154.5
(6.083)196.7
(7.744)344.2
(13.551)241.6
(9.512)48.1
(1.894)9.7
(0.382)1,496.8
(58.929)วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 1 3 3 6 16 16 18 20 21 17 6 1 128 จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 272.8 251.4 269.7 258.0 217.0 177.0 170.5 161.2 156.0 198.4 234.0 263.5 2,629.5 แหล่งที่มา1: กรมอุตุนิยมวิทยา[40] แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[41] การบริหาร[แก้]
ดูบทความหลักที่: กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[42] กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นนิติบุคคล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่ต้องดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน[43]โดยมีฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภากรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการเลือกตั้งจากชาวกรุงเทพมหานครเช่นกัน ดำเนินงานร่วมด้วย
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งในวันทื่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4 รายได้แก่ พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ นายสกลธี ภัททิยกุล นายศักดิ์ชัย บุญมา พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์
นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ เป็นปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นาง วัลยา วัฒนรัตน์[44] เป็น รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจโท สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น
มีที่ทำการตั้งอยู่ที่วังปารุสกวัน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเหตุอาชญากรรมการจราจรและงานปราบปรามยาเสพติดในกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขต[แก้]
ดูบทความหลักที่: เขต (หน่วยการปกครอง)รายชื่อเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
กรุงเทพมหานคร[45]ปี (พ.ศ.) ประชากร 2550 5,716,248 2551 5,710,883 2552 5,702,595 2553 5,701,394 2554 5,674,843 2555 5,673,560 2556 5,686,252 2557 5,692,284 2558 5,696,409 2559 5,686,646 2560 5,682,415 ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร § รายชื่อเขตเรียงตามจำนวนประชากรปี พ.ศ. 2558 เขตสายไหม เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครแทนที่ เขตบางแค มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 197,715 ราย
ปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลก[46] ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในกรุงเทพมหานครนั้นมีทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ประชาชนจากต่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรที่กรุงเทพมหานครจำนวนมาก
เศรษฐกิจ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม[47]โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 25 มาจากรุงเทพมหานคร[48] ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 9.04
กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2529 บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร[49]
จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก[50] ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง[51]
การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง[52] ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ[48] และในปี พ.ศ. 2557 อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61[53]
ในปี พ.ศ. 2559 รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[54]
พลังงาน[แก้]
ในปี พ.ศ. 2555 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแรกของประเทศไทยที่เปิดสถานีพลังงานสีเขียว โดยใช้พลังงานทดแทนโดยความร่วมมือจากบริษัท บางจากปิโตรเลียม[55]
การศึกษา[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยทั้งของภาครัฐและเอกชนตั้งอยู่ในหรือรอบ ๆ เมืองหลวง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปัญญาชนต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากการบ่มเพาะทั้งศาสตร์และศิลป์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ปูรากฐานให้นักคิดมาเกือบศตวรรษ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มของการใฝ่หาการศึกษาระดับปริญญาทำให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนไทย กรุงเทพมหานครไม่กลายเป็นเพียงสถานที่ที่ผู้อพยพและคนต่างจังหวัดแสวงหาโอกาสในการทำงาน แต่ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514[56] เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาเพียงแห่งเดียวในประเทศ แต่ก็มีการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลไทยใช้จัดการกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ความต้องการในการศึกษาระดับสูงได้นำไปสู่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอื่น ๆ อีกมากมายในเขตเมือง วิทยาลัยอาชีวและวิทยาลัยเทคนิคก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในปีที่ผ่านมา สถาบันเอกชนจำนวนมากได้ริเริ่มจัดตั้งโปรแกรมการแลกเปลี่ยนและหลักสูตรสองปริญญากับสถาบันจากตะวันตกขึ้นในกรุงเทพ การเพิ่มขึ้นของจำนวนโรงเรียนที่มีหลักสูตรนานาชาติได้ช่วยยกระดับมาตรฐานการแข่งขันของสถาบันของรัฐให้สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์อีกสองแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร อีก 1 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้สาธารณสุข[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครปี พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลตามกฎหมาย 147 แห่งในจำนวนนี้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางทันตกรรม 3 แห่ง กรุงเทพมหานครยังมีศูนย์การแพทย์อีกหลายแห่ง ซึ่งรวมสถาบันแพทยศาสตร์ 8 แห่งจาก 15 แห่งของประเทศ โรงพยาบาลหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร เป็นระดับตติยภูมิ ซึ่งรับการส่งต่อโรคที่ต้องการวิธีรักษาที่ซับซ้อนจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลรัฐ 33 แห่ง ในจำนวนนี้สังกัดกรุงเทพมหานคร 11 แห่งสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง[57] มีโรงพยาบาลเอกชน 107 แห่ง[57] ที่มีชื่อเสียงมาก เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลระดับนานาชาติ โรงพยาบาลที่ใกล้เคียงคือ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และทั้ง 3 แห่งได้การรับรองจากคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
ด้านโรงพยาบาลรักษาสัตว์ กรุงเทพมหานครมีทั้งหมดอย่างน้อย 34 แห่ง ด้านการเสริมสร้างสาธารณสุขกรุงเทพมหานครได้มีศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน[58] ไว้บริการประชาชน
สาธารณภัย[แก้]
การสาธารณภัยในกรุงเทพมหานครเริ่มอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยได้มีการจัดตั้งสถานีดับเพลิงบางรัก ในซอยเจริญกรุง 36 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ไปรษณีย์บางรัก โดยอาคารดังกล่าว สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2433 ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสถานีดับเพลิง 35 แห่ง[59]ภายใต้การควบคุมของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมี พ.ต.ท.สมเกียรติ นนทแก้ว[60]เป็นผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร และมี นาย ธีรยุทธ์ ภูมิภักดิ์ และ ดร.ประยูร ครองยศ เป็นรองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้การท่องเที่ยว[แก้]
กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระที่นั่งอนันตสมาคม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถนนสีลม สยามสแควร์ มาดามทุซโซต์ กรุงเทพ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ (เจริญกรุง)
ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า[แก้]
ห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเปิดใน พ.ศ. 2368 เมื่อ หลวงอาวุธวิเศษประเทศพาณิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) ได้ขอพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์พระบรมราชานุญาตให้เช่าที่ดินของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สร้างอาคารสำนักงานและโรงเก็บสินค้าคนไทยสมัยนั้นเรียกว่า ห้างหันแตร[61] ปัจจุบัน ศูนย์การค้า เป็นที่นิยมมากกว่า ห้างสรรพสินค้า ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการพาณิชย์[ต้องการอ้างอิง] ศูนย์การค้าต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครได้สร้างรายได้ทั้งจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้แก่กรุงเทพมหานครด้วย[47]โดยศูนย์การค้าที่เปิดทำการล่าสุด คือ ไอคอนสยาม ซึ่งจะเปิดในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และในบริเวณจะมีตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย
โรงภาพยนตร์[แก้]
โรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440[62] ได้แก่ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพแห่งแรกของเอเชียที่ใช้เครื่องปรับอากาศ[63] ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์มักตั้งอยู่ในศูนย์การค้าต่าง ๆ
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครวัดและพระราชวัง[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานครดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อพระราชวังและวังในประเทศไทยกรุงเทพมหานครมีวัดทั้งหมด 449 แห่ง[note 1][64] โดยเขตที่มีวัดมากที่สุดได้แก่ เขตบางกอกน้อย มีทั้งสิ้น 32 วัด[64] พระราชวังมีทั้งหมด 8 แห่ง วังมีทั้งหมด 17 แห่ง[note 2] (ข้อมูลวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554)
การจัดลำดับเมืองท่องเที่ยว[แก้]
ประเภทจำนวนนักท่องเที่ยว[แก้]
- ในปี พ.ศ. 2555 การจัดลำดับโดย Master Card Global Deslination Cities Index 2012 กรุงเทพมหานครคว้าอันดับ 1 สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นอันดับ 3 ของโลก[65]
- ในปี พ.ศ. 2556 MasterCard Global Destination Cities Index 2013 ระบุว่ากรุงเทพมหานครมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก[66]
- ในปี พ.ศ. 2557 MasterCard Global Destination Cities Index 2014 ระบุว่ากรุงเทพมหานครมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 2 ของโลก[67] 16.42 ล้านคน
- ในปี พ.ศ. 2558 บริษัทวิจัย Euromonitor International ของอังกฤษ เปิดเผยรายงานการศึกษาประจำปี 2017 ชื่อ Top 100 City Destinations Ranking โดยในรายงานระบุว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 2 รองจาก ฮ่องกง โดยมีนักท่องเที่ยว 18.7 ล้านคน[68]
ประเภทเมืองท่องเที่ยว[แก้]
- การจัดอันดับของนิตยสาร ทราเวลแอนด์เลเชอร์ (Travel and Leisure)[69]กรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกใน พ.ศ. 2551, 2553, 2554 และ 2555[70]
- ด้านเว็บไซต์ TripAdvisor ได้เปิดเผยผลสำรวจว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ประหยัดค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเป็นอันดับที่ 3 จาก 48 เมืองทั่วโลก[71]ในปีพ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของเอเซียและอันดับที่ 13 ของโลก[72]จากเว็บไซต์ TripAdvisor
- ด้านเว็บไซต์ TripAdvisor ได้เปิดเผยผลสำรวจในปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 5 ของเอเซียและอันดับที่ 20 ของโลก รวมทั้งเป็นเมืองที่มีราคาที่พักถูกและคุ้มที่สุดในโลกเป็น อันดับ 4 ของโลก[72]จากเว็บไซต์ TripAdvisor
- ด้านเว็บไซต์ economist.com ได้เปิดเผยผลสำรวจในปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวปลอดภัยอันดับ 39 ของโลกจาก 50 อันดับ และได้การอันดับ 14 จาก 18 อันดับของเอเซีย[73]
- ด้านเว็บไซด์ www.agoda.com ได้เปิดเผยผลสำรวจเมืองท่องเที่ยวยอดเยี่ยมในการมาท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ กรุงเทพมหานครได้รับการจัดลำดับเป็นลำดับ 1[74]
- ในปี พ.ศ. 2559 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ยกกรุงเทพฯ เป็นอันดับ 1 ใน 23 เมือง ที่มีอาหารข้างถนน หรือ Street food ดีที่สุดในโลก[75]
การคมนาคม[แก้]
เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองจำนวนมากจนได้ฉายาว่า “เวนิสตะวันออก” แต่ปัจจุบันได้มีการถมคลองเพื่อทำเป็นถนน การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน โดยถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ซึ่งสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 หลังจากนั้น ได้มีการสร้างถนนใหม่ขึ้นมากมาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ประมาณ พ.ศ. 2533 ได้มีการสร้างทางพิเศษขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ส่วนระบบขนส่งทางราง ได้มีส่วนเข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 โดยมีการให้บริการระบบรถราง ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2437 แต่ได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2511 และในพ.ศ. 2542ได้มีการเปิดบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายแรกชื่อว่า รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาหรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้เปิดให้บริการ และในปี พ.ศ. 2553 ได้เปิดเดินรถโครงการ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ในปี พ.ศ. 2559 ส่วนระบบขนส่งทางน้ำนั้น ให้บริการเส้นทางในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองแสนแสบ
การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดต่าง ๆ มีหลายเส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย
ทางรถยนต์[แก้]
กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่
- ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)
- ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3)
- ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4)
- ถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35)
ทั้งนี้ มีทางหลวงสายหลักที่ไม่ได้เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร คือ ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ซึ่งเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี
ในเขตกรุงเทพมหานครมีทางหลวงพิเศษ 3 สาย ได้แก่
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 รวม 126 กิโลเมตร เปิดใช้บริการครั้งแรก 79 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) เปิดใช้บริการส่วนต่อขยายครั้งล่าสุด (ด้านใต้) วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
- ทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี)
ดูเพิ่มเติมที่: ทางหลวงพิเศษ- ทางยกระดับ
- ทางยกระดับอุตราภิมุข มีระยะทางรวมประมาณ 28 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในการบริหารจัดการโดยบริษัททางยกระดับดอนเมืองจำกัด (มหาชน) ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรจากดินแดงถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (ทางยกระดับดอนเมือง) เปิดบริการเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และอยู่ในการบริหารจัดการโดยกรมทางหลวง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร จากอนุสรณ์สถานแห่งชาติถึงรังสิต (ส่วนของกรมทางหลวง) เปิดบริการเมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2541
- ทางคู่ขนานลอยฟ้าพระบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธรระยะทาง 4.50 กิโลเมตร และจากทางแยกต่างระดับสิรินธรถึงจุดสิ้นสุดโครงการ บริเวณเลยจุดข้ามทางแยกต่างระดับพุทธมณฑล สาย 2 ไปอีก 500 เมตร ระยะทาง 9.30 กิโลเมตร เปิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541[77]
- ทางพิเศษ
ดูเพิ่มเติมที่: ทางพิเศษในประเทศไทยกรุงเทพมหานครมีทางพิเศษ (ทางด่วน) ทั้งหมด 9 เส้นทาง ทางเชื่อมพิเศษทั้งหมด 2 เส้นทาง แบ่งเป็นทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 8 เส้นทาง[78] ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2 เส้นทาง และทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวง 1 เส้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยประชาชนต้องชำระเงินเป็นกรณีพิเศษ
- ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย
- ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ระยะทางรวม 28.4 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 กันยายน พ.ศ. 2536
- ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ทางพิเศษฉลองรัชได้เปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539
- ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี) ระยะทาง 55 กิโลเมตร เปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
- ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร ระยะที่ 1 ทาง 22 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 ธันวาคม 2541 และระยะที่ 2 ระยะทาง 10 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
- ทางพิเศษสาย S1 ระยะทาง 4.7 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นทางยกระดับ 6 ช่องจราจร เปิดให้บริการ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548
- ทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552
- ทางพิเศษสายสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
- ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 16.7 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
- ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่
- ทางเชื่อมทางพิเศษ สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับ ทางพิเศษบูรพาวิถี[79] เปิดบริการ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- ทางเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม 2 กิโลเมตร[80] เปิดใช้ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554
- ทางเชื่อมทางพิเศษศรีรัช กับทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 360 เมตร เปิดให้บริการเมือวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561[81]
ทางรถโดยสารประจำทาง[แก้]
รถโดยสารประจำทางมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา โดยรถโดยสารประจำทางเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีทั้งหมด 254 สาย ซึ่งในจำนวนนี้มีที่ขึ้นทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 36 เส้นทาง และเป็นเส้นทางที่ใช้รถปรับอากาศในเส้นทางเดียวกับเส้นทางปกติ 143 เส้นทาง ดังนั้นจึงคงเหลือรถธรรมดาที่ไม่ขึ้นทางด่วนและไม่มีรถปรับอากาศบริการในเส้นทางนั้น ๆ 75 เส้นทาง รถโดยสารร่วมบริการขนาดเล็ก (มินิบัส) ราคา 10 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาของ ขสมก. ราคา 8 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาร่วมบริการราคา 10 บาทตลอดสาย รถโดยสารปรับอากาศราคาเริ่มต้น 12 บาท รถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2 ราคาเริ่มต้น 13 บาท ส่วนรถปรับอากาศรุ่นใหม่ (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) ราคาเริ่มต้น 15 บาท โดยหากใช้บริการในยามค่ำระหว่างช่วง 23.00 น. ถึง 5.00 น.ราคาจะเพิ่มขึ้น 1.50 บาท ตลอดสาย(ค่าธรรมเนียมรถบริการตลอดคืน จะจัดเก็บเฉพาะรถโดยสารธรรมดา ส่วนรถโดยสารปรับอากาศ จะไม่มีการจัดเก็บแต่อย่างใด) และหากรถขึ้นทางด่วนจะเพิ่มราคาขึ้นอีก 2 บาท (ค่าธรรมเนียมรถบริการทางด่วนนี้ จะจัดเก็บทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ)
ในการขึ้นค่าโดยสารครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้กำหนดราคาค่าโดยสารไว้ดังนี้[82]
ประเภทของรถ สี ผู้ให้บริการ ค่าโดยสาร เวลาบริการ ทางด่วน รถธรรมดา ครีม-แดง ขสมก. 8 05:00-23:00 10 9.50 23.00-05.00 ขาว-น้ำเงิน,ชมพู เอกชน 10 05.00-23.00 12 11.50 23.00-05.00 รถมินิบัส ส้ม 10 05.00-23.00 11.50 23.00-05.00 รถปรับอากาศ ครีม-น้ำเงิน ขสมก. 12 14 16 18 20 ตลอด 24 ชม. 14 16 18 20 22 เอกชน 13 15 17 19 21 05:00-23:00 15 17 19 21 23 ส้ม,ขาว ขสมก. 13 15 17 19 21 23 25 ตลอด 24 ชม. 15 17 19 21 23 25 27 เหลือง เอกชน 14 16 18 20 22 24 26 05:00-23:00 16 18 20 22 24 26 28 13 15 17 19 21[note 3] 15 17 19 21 23[note 3] 14[note 3] ฟ้า ขสมก.เอกชน 15 20 25 17 22 27 - รถโดยสารประจำทางต่างจังหวัด
รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับเดินทางไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สำหรับเดินทางไปภาคใต้[note 4] และภาคตะวันตก[note 5]
- รถโดยสารประจำทางต่างประเทศ
รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ที่สำหรับเดินทางไปยังต่างประเทศโดยตรงจากกรุงเทพมหานคร มี 4 เส้นทาง ไป ประเทศกัมพูชา และ ประเทศลาว โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ดังนี้
- กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ – ปอยเปต – เสียมราฐ
- กรุงเทพมหานคร – ปากเซ [83]
- กรุงเทพมหานคร – นครหลวงเวียงจันทน์
- กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ – ปอยเปต – พระตะบอง – พนมเปญ [84]
- รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
กรุงเทพมหานครมีบริการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ ปัจจุบันเปิดให้บริการ 1 เส้นทาง คือ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร
- รถปรับอากาศพิเศษ
รถปรับอากาศพิเศษ (metrobus) เป็นรถของบริษัท พรีเมียร์ เมโทรบัส จำกัด[85] บริการเดินรถในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันได้ยกเลิกการให้บริการทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557[86] โดยสายสุดท้ายที่ให้บริการ คือสาย ปอ.พ.4-2 เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- รถตู้ประจำทาง
ปัจจุบันมีทั้งหมด 126 สาย ให้บริการระหว่าง 05.00 น. ถึง 22.00 น. ค่าบริการอยู่ที่ 10-35 บาท[87] เป็นรถปรับอากาศร่วมบริการ ขสมก. เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้โดยสารที่ต้องการนั่งบนรถตลอดการเดินทาง
- รถจักรยานยนต์ประจำทาง
รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร มีอัตราบริการขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 10 บาท ทั้งนี้แล้วแต่ท้องที่นั้น ๆ จะเรียกเก็บค่าโดยสารตามระยะทางที่เดินทางโดยสูงสุดอาจถึง 500 บาท หากไปยังพื้นที่ที่ต้องไปในระยะไกล
ทางรถแท็กซี่[แก้]
ค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพฯ ยุคแรก จะถูกกำหนดโดยประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2535 ลงนามโดยนายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร โดยจะเป็นดังนี้[88]
กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร 0-2 35 บาท 2-3 5.00 บาท/กิโลเมตร 3-5 4.50 บาท/กิโลเมตร 5-7 4.00 บาท/กิโลเมตร 7 ขึ้นไป 3.50 บาท/กิโลเมตร ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.00 บาท/นาที
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้มีการอนุมัติปรับค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นครั้งที่ 1 ซึ่งใช้อัตรานี้มาจนถึง พ.ศ. 2551 โดยอัตราค่าโดยสารเป็นดังนี้[89]
กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร 0-2 35 บาท 2-12 4.50 บาท/กิโลเมตร 12-20 5.00 บาท/กิโลเมตร 20 ขึ้นไป 5.50 บาท/กิโลเมตร ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.25 บาท/นาที
ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งใช้อัตราค่าโดยสารนี้จนถึงปี พ.ศ. 2557 โดยอัตราค่าโดยสารใหม่คือ[90]
กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร 0-1 35 บาท 1-12 5 บาท/กิโลเมตร 12-20 5.50 บาท/กิโลเมตร 20-40 6 บาท/กิโลเมตร 40-60 6.50 บาท/กิโลเมตร 60-80 7.50 บาท/กิโลเมตร 80 ขึ้นไป 8.50 บาท/กิโลเมตร ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.50 บาท/นาที
ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคม ได้อนุมัติการปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์เป็นครั้งที่ 3 โดยมีผลตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป โดยอัตราค่าโดยสารใหม่คือ[91]
กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร 0-1 35 บาท 1-10 5.50 บาท/กิโลเมตร 10-20 6.50 บาท/กิโลเมตร 20-40 7.50 บาท/กิโลเมตร 40-60 8.00 บาท/กิโลเมตร 60-80 9.00 บาท/กิโลเมตร 80 ขึ้นไป 10.50 บาท/กิโลเมตร ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 2.00 บาท/นาที
โดยการคิดค่าโดยสารนั้น จะคิดแยกเป็นส่วน ๆ (ส่วนของระยะทาง และส่วนของเวลา) ส่วนของระยะทาง มิเตอร์คำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดขึ้นไป (เช่น คำนวณได้ 47.75 บาท ก็จะปัดขึ้นเป็น 49 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดไป) ส่วนของมิเตอร์เวลา มิเตอร์เวลาคำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดลงเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ลงมา (เช่น มิเตอร์เวลาเดินไปได้ 3.75 บาท ก็จะปัดทิ้งเป็น 2 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ถัดลงมา)[ต้องการอ้างอิง]
นอกจากนี้ปัจจุบัน ยังได้ลดอายุการวิ่งบนท้องถนน 9 ปี จากรถรุ่นก่อน ๆ สามารถวิ่งได้ 12 ปี แต่ยกเว้นแท็กซี่สีเหลือง-ดำ ซึ่งเป็นแท็กซี่รุ่นเก่าประมาณ ซึ่งสามารถวิ่งเป็นแท็กซี่บนท้องถนนได้ต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีการจำกัดอายุการใช้งานเป็นแท็กซี่แต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง]
ปัจจุบันได้มีบริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยจะเสียค่ารถวิ่งเปล่า 25 บาท รู้จักในนาม Grab taxi
ทางระบบขนส่งมวลชนเร็ว[แก้]
ดูบทความหลักที่: รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย และ การขนส่งระบบรางในประเทศไทยกรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของระบบขนส่งมวลชนเร็ว สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งเป็นสถานีศูนย์กลางของประเทศไทย ในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้คนมากมายมาใช้บริการรถไฟไปยังจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวในประเทศไทยที่มีระบบรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย 3 ระบบ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในอนาคต อาจมีความยาวเกือบ 400 กิโลเมตร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งได้มีโครงการรถไฟฟ้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 แล้ว[92]
รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542 แบ่งการเดินรถเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสุขุมวิท และ สายสีลม รวมระยะทาง 30.95 กิโลเมตร (19.23 ไมล์) ส่วน รถไฟฟ้ามหานคร เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2547 สายที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน คือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระยะทาง 21 กิโลเมตร (13 ไมล์) จำนวน 19 สถานี รวมทั้งบางส่วนของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2553 ดำเนินการโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังใจกลางเมือง ระยะทาง 28 กิโลเมตร (17 ไมล์) จำนวน 8 สถานี
โดยรถไฟฟ้าสายล่าสุดที่เปิดให้บริการ คือรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยายจากสถานีสำโรง ถึงสถานีเคหะฯ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ในขณะนี้ รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ในระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยาย เส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการอีก 10 สาย มีทั้งรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy rail) และรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือรางเบา (Monorail) ซึ่งจะเร่งรัดให้เสร็จภายใน พ.ศ. 2572
กรุงเทพมหานครมีบริการรถรางของรัฐได้แก่ รถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์คิดค่าบริการ 30 บาท ดำเนินการขนส่งภายใน เขตพระนคร ลักษณะรถทัวร์ชมเมืองวิ่งบนถนน ไม่ใช่รถรางไฟฟ้า[93][94]
ทางรถราง[แก้]
ในเขตกรุงเทพมหานคร มีรถรางให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวภายในเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เขตบางคอแหลม ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ของบริษัท ริเวอร์ไซด์ มาสเตอร์แพลน ในส่วนของรถรางที่ใช้ล้อยางที่ไม่ใช้ระบบรางได้แก่ รถรางชมเมือง ซึ่งกรุงเทพมหานครมีบริการ 3 ขบวน เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ให้บริการในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556 ภายหลังหยุดประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2553 ดำเนินกิจการโดย บริษัท ศรีกัลยาทัวร์ จำกัด[95]
ทางอากาศ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีท่าอากาศยานหลัก 2 ท่าอากาศยาน คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งทั้ง 2 ท่าอากาศยาน เป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ที่รองรับผู้โดยสารจากต่างประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และ ผู้โดยสารภายในประเทศไทยออกสู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักในการทำการขนส่งทางอากาศในกรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2561 จำนวนประเทศที่ทำการบินมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้แก่ 55 ประเทศ ไม่รวมประเทศไทย โดยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 แทน ท่าอากาศยานดอนเมืองที่เปิดใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2457
ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2562 มีสายการบินจำนวน 117 สายการบินใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แบ่งเป็น เครื่องขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน และเครื่องบินขนส่งอากาศยานขนส่งสินค้าไม่มีผู้โดยสาร 12 สายการบิน
โดยสายการบินขนส่งผู้โดยสาร สายการบิน อาร์เคียอิสราเอล เลิกบิน เส้นทาง เทลอาวีฟ ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2562 สายการบินเครื่องบินขนส่งอากาศยาน ยกเลิก 2 สายการบินขนส่งอากาศยาน ได้แก่ สายการบิน มาย เจ็ทเอกซ์เพรส แอร์ไลน์ ยกเลิกเที่ยวบิน จาก ปีนัง และ เดือน เมษายน พ.ศ. 2562 หยวนทง คาร์โกแอร์ไลน์ เลิกบิน เที่ยวบิน จาก ซีอาน และ ฉางซา
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังให้บริการ สายการบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ 2 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ภายในประเทศ ทำการบินไป สนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้บริการ ตลอดปี พ.ศ. 2562 ทั้งสิ้น 120 สายการบิน
ในส่วน ท่าอากาศยานดอนเมือง กลับมาบริการสายการบินระหว่างประเทศ อีกครั้ง ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มัลดีฟส์ พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน อินเดีย กัมพูชา ฮ่องกง มาเก๊า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศออสเตรเลีย รวม 16 ประทศ
ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศที่มีบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้นได้แก่เที่ยวบินไปกลับ ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด ท่าอากาศยานชุมพร ซึ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว
ทางน้ำ[แก้]
เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองมีดังนี้
- เรือโดยสารคลองแสนแสบ
- เรือหางยาวโดยสารคลองพระโขนง (พระโขนง–ตลาดเอื่ยมสมบัติ)
- เรือด่วนเจ้าพระยา: เรือด่วนประจำทางและเรือด่วนพิเศษ (ธงส้ม ธงเหลือง ธงฟ้า และธงเขียว-เหลือง)
- เรือหางยาวด่วนคลองบางกอกน้อย
- เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ
- เรือด่วนสาทร-คลองเตย
ส่วนท่าเรือสำหรับขนส่งผู้โดยสารและรับส่งสินค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร คือ ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตคลองเตย
ระยะทางจากกม.0ไปเขตต่างๆ[แก้]
- เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย – 1 กิโลเมตร
- เขตพระนคร – 1 กิโลเมตร
- เขตดุสิต – 3 กิโลเมตร
- เขตปทุมวัน – 3 กิโลเมตร
- เขตคลองสาน – 4 กิโลเมตร
- เขตราชเทวี – 4 กิโลเมตร
- เขตสัมพันธวงศ์ 4 กิโลเมตร
- เขตธนบุรี – 5 กิโลเมตร
- เขตบางกอกน้อย – 5 กิโลเมตร
- เขตบางรัก – 5 กิโลเมตร
- เขตบางกอกน้อย – 6 กิโลเมตร
- เขตบางพลัด – 6 กิโลเมตร
- เขตพญาไท – 6 กิโลเมตร
- เขตดินแดง – 7 กิโลเมตร
- เขตตลิ่งชัน – 7 กิโลเมตร
- เขตบางซื่อ – 8 กิโลเมตร
- เขตบางคอแหลม – 9 กิโลเมตร
- เขตสาทร – 9 กิโลเมตร
- เขตจอมทอง – 10 กิโลเมตร
- เขตราษฎร์บูรณะ – 10 กิโลเมตร
- เขตภาษีเจริญ – 11 กิโลเมตร
- เขตห้วยขวาง – 11 กิโลเมตร
- เขตวัฒนา – 12 กิโลเมตร
- เขตคลองเตย – 13 กิโลเมตร
- เขตจตุจักร – 13 กิโลเมตร
- เขตยานนาวา – 13 กิโลเมตร
- เขตบางกะปิ – 18 กิโลเมตร
- เขตลาดพร้าว – 18 กิโลเมตร
- เขตทวีวัฒนา – 19 กิโลเมตร
- เขตวังทองหลาง – 19 กิโลเมตร
- เขตสวนหลวง – 19 กิโลเมตร
- เขตพระโขนง – 20 กิโลเมตร
- เขตหลักสี่ – 20 กิโลเมตร
- เขตบางแค – 21 กิโลเมตร
- เขตดอนเมือง – 22 กิโลเมตร
- เขตบางนา – 22 กิโลเมตร
- เขตบึงกุ่ม – 22 กิโลเมตร
- เขตทุ่งครุ – 23 กิโลเมตร
- เขตบางขุนเทียน – 23 กิโลเมตร
- เขตบางเขน – 25 กิโลเมตร
- เขตหนองแขม – 26 กิโลเมตร
- เขตประเวศ – 27 กิโลเมตร
- เขตสะพานสูง – 28 กิโลเมตร
- เขตสายไหม – 29 กิโลเมตร
- เขตมีนบุรี – 30 กิโลเมตร
- เขตบางบอน – 31 กิโลเมตร
- เขตคันนายาว – 32 กิโลเมตร
- เขตคลองสามวา – 33 กิโลเมตร
- เขตลาดกระบัง – 34 กิโลเมตร
- เขตหนองจอก – 46 กิโลเมตร
- กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง
ถนนกรุงธนบุรี แผ่นใส สีขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนกรุ […]
ถนนประชาธิปก เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนประช […]