ถนนกาญจนาภิเษก หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนกาญ […]
Category Archives: ถนนกาญจนาภิเษก
ถนนกาญจนาภิเษก
ถนนกาญจนาภิเษก is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
เขตทุ่งครุ
เขตทุ่งครุ
|
|
---|---|
คำขวัญ: หลวงพ่อโอภาสีที่ศักดิ์สิทธิ์ สัตว์เศรษฐกิจแพะแกะไก่ปลา นกเขาชวาเสียงดี กล้วยไม้หลากสีหลายพันธุ์ มะม่วงนวลจันทร์เลิศรส ส้มบางมดเลื่องชื่อลือนาม | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°36′42.25″N 100°30′34.40″E | |
อักษรไทย | เขตทุ่งครุ |
อักษรโรมัน | Khet Thung Khru |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 30.741 ตร.กม. (11.869 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 122,296[1] |
• ความหนาแน่น | 3,978.27 คน/ตร.กม. (10,303.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1049 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 2 ซอยประชาอุทิศ 86 (พึ่งสายบำเพ็ญ) ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/thungkhru |
เขตทุ่งครุ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ มีลำรางสาธารณะ คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองตาเทียบ คลองราษฎร์บูรณะ คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ ลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางพึ่ง ลำรางสาธารณะ คลองขุดเจ้าเมือง และคลองรางใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางจาก คลองกะออมใน คลองท่าเกวียน คลองตาสน และคลองกะออมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีคลองรางแม่น้ำและคลองบางมดเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ความหมายของคำว่า “ทุ่งครุ” ตามพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 มิได้ให้ คำจำกัดความของคำว่า “ทุ่งครุ” ไว้เป็นการเฉพาะ แต่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ทุ่ง” กับ “ครุ” ไว้ว่า “ทุ่ง” หมายถึง ที่ราบโล่ง “ครุ” หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่งใช้ตักน้ำรูปกลม ๆ ยาชัน เมื่อนำความหมายของคำจำกัดความทั้งสองมารวมกัน น่าจะหมายถึง “พื้นที่ราบโล่ง ใช้สาน ภาชนะตักน้ำรูปกลม ๆ ยาชัน” จากความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในอดีตท้องที่เขตทุ่งครุ เป็นที่ราบโล่ง ลุ่ม มีแหล่งน้ำหลายแห่งเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกร ทำสวนและมีฝีมือทางการจักสาน
ประวัติ[แก้]
เดิมทุ่งครุมีฐานะเป็น ตำบลทุ่งครุ ขึ้นอยู่กับอำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ต่อมาอำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระประแดงอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะรวมทั้งตำบลทุ่งครุจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกชื่อตำบลและอำเภอใหม่ด้วย ตำบลทุ่งครุจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทุ่งครุ ขึ้นกับสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตทุ่งครุ ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตราษฎร์บูรณะออกมา 2 แขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ท้องที่สำนักงานเขตทุ่งครุแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยมีคลองราชพฤกษ์และคลองสะพานควายเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
บางมด | Bang Mot |
12.765
|
55,100
|
26,527
|
4,316.49
|
ทุ่งครุ | Thung Khru |
17.976
|
67,196
|
25,430
|
3,754.78
|
ทั้งหมด |
30.741
|
122,296
|
51,957
|
3,978.27
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตทุ่งครุ[2] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตทุ่งครุมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนประชาอุทิศ เริ่มต้นเข้าสู่เขตทุ่งครุ จากคลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ แขวงบางมด เนื่องมาจากแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และไปสิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานครที่คลองบางจาก
- ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นเข้าสู่เขตทุ่งครุ จากคลองรางแม่น้ำ (บางมด) แขวงทุ่งครุ เนื่องมาจากแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน และไปสิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานครที่คลองขุดเจ้าเมือง ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ต่อไป
ทางสายรองได้แก่
- ถนนพุทธบูชา
- ถนนครุใน
- ถนนเลียบวงแหวน
- ซอยพุทธบูชา 36
- ซอยประชาอุทิศ 33
- ซอยประชาอุทิศ 69
- ซอยประชาอุทิศ 90
สถานที่สำคัญ[แก้]
มหาวิทยาลัย[แก้]
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนวัดพุทธบูชา
- อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
- โรงเรียนนาหลวง
- โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
- โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
วัด[แก้]
- วัดทุ่งครุ
- วัดบางมดโสธราราม (กลางนา)
- วัดพุทธบูชา
- วัดหลวงพ่อโอภาสี
อื่น ๆ[แก้]
ถนนกาญจนาภิเษก เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนกา […]
ถนนกาญจนาภิเษก แผ่นใส สีขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนกา […]
ถนนกาญจนาภิเษก หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนกาญจ […]