ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แผ่นใส สีขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ข […]
Category Archives: กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
บางกอก
|
|
---|---|
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
|
|
เรียงตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร, เสาชิงช้า, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, พระที่นั่งอนันตสมาคม, ทิวทัศน์กลางคืนที่ สวนลุมพินี และ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
|
|
คำขวัญ:
|
|
แผนที่ประเทศไทยเน้นกรุงเทพมหานคร
|
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′0″N 100°31′1.20″Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′0″N 100°31′1.20″E | |
ประเทศ | ไทย |
ภูมิภาค | ภาคกลาง |
ก่อตั้ง | 21 เมษายน พ.ศ. 2325 |
ก่อตั้ง (นคร) | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
ศาลาว่าการ | เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
การปกครอง | |
• ประเภท | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ |
• ผู้ว่าราชการ | อัศวิน ขวัญเมือง |
• ปลัดกรุงเทพมหานคร | ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ |
พื้นที่ | |
• องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ | 1,568.737 ตร.กม. (605.693 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 7,761.6 ตร.กม. (2,996.8 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2562) | |
• องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ | 10,820,921 (ประมาณจำนวนประชากรทั้งขึ้นทะเบียนราษฎร และไม่ขึ้นทะเบียนราษฎร) |
• รวมปริมณฑล | 10,624,700 |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,400 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | Thailand (UTC+7) |
รหัสไปรษณีย์ | 10### |
รหัสพื้นที่ | 02 |
โทรศัพท์ | (+66) 0 2246 0301-3 |
เว็บไซต์ | bangkok.go.th |
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น “เอกนครที่สุดในโลก” เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[2]
การบริหาร[แก้]
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[42] กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นนิติบุคคล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่ต้องดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน[43]โดยมีฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภากรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการเลือกตั้งจากชาวกรุงเทพมหานครเช่นกัน ดำเนินงานร่วมด้วย
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งในวันทื่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4 รายได้แก่ พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ นายสกลธี ภัททิยกุล นายศักดิ์ชัย บุญมา พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์
นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ เป็นปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นาง วัลยา วัฒนรัตน์[44] เป็น รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจโท สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น
มีที่ทำการตั้งอยู่ที่วังปารุสกวัน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเหตุอาชญากรรมการจราจรและงานปราบปรามยาเสพติดในกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขต[แก้]
รายชื่อเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร กรุงเทพมหานคร[45] |
|
---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร |
2550 | 5,716,248 |
2551 | 5,710,883 |
2552 | 5,702,595 |
2553 | 5,701,394 |
2554 | 5,674,843 |
2555 | 5,673,560 |
2556 | 5,686,252 |
2557 | 5,692,284 |
2558 | 5,696,409 |
2559 | 5,686,646 |
2560 | 5,682,415 |
ปี พ.ศ. 2558 เขตสายไหม เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครแทนที่ เขตบางแค มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 197,715 ราย
ปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลก[46] ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในกรุงเทพมหานครนั้นมีทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ประชาชนจากต่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรที่กรุงเทพมหานครจำนวนมาก
เศรษฐกิจ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม[47]โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 25 มาจากรุงเทพมหานคร[48] ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 9.04
กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2529 บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร[49]
จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก[50] ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง[51]
การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง[52] ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ[48] และในปี พ.ศ. 2557 อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61[53]
ในปี พ.ศ. 2559 รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[54]
ถนนวุฒากาศ แผ่นใส ใสกระจก : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนวุฒากาศ […]
ถนนราชพฤกษ์ ลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนราชพฤกษ […]
ถนนพุทธบูชา หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนพุทธบูช […]
ถนนพระรามที่ 2 ลูกหมุน ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน ถนนพระรา […]
ถนนจอมทองบูรณะ เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนจอ […]
ถนนจอมทอง เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนจอมทอง […]
ถนนกำนันแม้น แผ่นใส สีขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนกำนั […]
ถนนกัลปพฤกษ์ แผ่นใส ใสกระจก : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนกัลปพฤ […]
แขวงเสนานิคม ลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย แขวงเสนาน […]